เสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง วัดสวยริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพ

เสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง

‘เสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง’ วัดดังในไทย ที่เป็นทั้งพระอารามหลวง และวัดของพระเกจิชื่อดัง ซึ่งถ้าพูดถึง วัดเก่าสมัยอยุธยา ในกรุงเทพฯ ที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา “วัดระฆัง” หรือชื่อเต็ม คือ “วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร” จะต้องอยู่ในลิสต์ รายชื่ออันดับต้นๆ อย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นวัดเก่าแก่ ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว วัดแห่งนี้ยังเป็นวัดสวย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติต่างนิยมเข้ามาไหว้พระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาสะเดาะเคราะห์ เสริมดวง ดูดวง เสี่ยงเซียมซี ให้อาหารปลา รวมทั้งยังเป็นที่นิยม ของช่างภาพ ที่จะมาถ่ายภาพบรรยากาศสวยๆ ในตอนเย็น ที่เป็นช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งทำให้วัดระฆังแห่งนี้ เป็นศูนย์รวมกิจกรรม ทั้งการทำบุญทำทาน จุดพักผ่อนยามเย็น ของคนในชุมชน และที่เที่ยว สำหรับชาวต่างชาติ ที่ชื่นชอบ การเที่ยวชมวัดสวยๆ ในไทย

วัดระฆัง
วัดระฆัง 3

ประวัติของวัดระฆัง

วัดระฆัง หรือ ชื่อเต็มคือ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสร้างพระราชวัง ใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ยกให้เป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุม สังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจาก จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นที่วัดนี้ ต่อมาเจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี(สา) พระเชษฐภคินี ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงมีตำหนักที่ประทับ อยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัด และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ  ให้นำไปไว้ที่วัด พระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆัง ชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้น ได้พระราชทาน นามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” แต่ไม่มีคนนิยม เรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา และวัดระฆัง ยังมีหอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม ที่สวยงามในไทย เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดเพื่อการท่องเที่ยว และเป็นหอพระพระไตรปิฎก ​สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ได้เข้ามาศึกษาหลักธรรม ตั้งแต่สมัยธนบุรี จนถึงปัจจุบัน

สำหรับพุทธศาสนิกชน ท่านใดที่อยากสักาาระ ต้นโพธิ์ลังกา ที่เป็นต้นโพธิ์พันธุ์ลังกา แบบต้นใหญ่ๆ เหมือนกับที่อินเดีย ก็สามารถเดินทาง ไปที่วัดนี้ได้ เพราะพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับต้นโพธิ์ลังกา มาในรัชสมัยของพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้นำไปปลูก ตามพระอารามหลวงต่างๆ ตามประวัติกล่าวว่า ได้เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงปลูกต้นโพธิ์ ที่วัดระฆังโฆสิตารามนี้ ด้วยพระองค์เอง

นอกจากนั้น ยังมีพระอุโบสถ ที่เป็นอุโบสถ ตามทรงแบบรัชกาลที่ 1 ที่เป็นสถาปัตยกรรม ในยุคนั้น โดยมีรูปทรง หลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย สลักเสลา อย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้า และหลังทำปีกนกคลุมมุข อยู่ในระยะไขรา หน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลาย พระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนก ปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง 2 ช่อง แทนแผงแรคอสอง เหนือประตูหน้าต่าง รอบพระอุโบสถ ติดกระจังปูนปั้น ปิดทองคำ เป็นรูปซุ้มบนบานประตู หน้าต่าง ด้านนอกเขียนลายรดน้ำ ปิดทองมีรูประฆัง เป็นเครื่องหมาย อย่างสวยงาม

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดระฆังโฆสิตาราม

เสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในวัดระฆัง จะประกอบด้วยโบราณสถาน พระพุทธรูป พระวิหาร และสถานที่น่าสนใจ ภายในวัด ดังนี้

  1. ปูชนียวัตถุสำคัญ คือ พระประธาน ยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูป เนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์ มีรูปพระสาวก 3 องค์ และพระเครื่อง ที่จัดสร้าง โดยวัดระฆังโฆสิตาราม
  2. โบราณสถานสำคัญ คือ
  • พระอุโบสถ
  • พระวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า)
  • พระปรางค์
  • หอระฆัง
  • หอพระไตรปิฎก
  • พระเจดีย์สามองค์
  1. สถานที่น่าสนใจภายในวัด
  • พระวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
  • พระวิหาร สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
  • พิพิธภัณฑ์ วัดระฆังโฆสิตาราม (อาคารเฉลิมพระเกียรติ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา)
  1. เจ้าอาวาส(อธิบดีสงฆ์ แห่งวัดระฆังฯ) ที่คนไทยนับถือ และเป็นที่รู้จัก อาทิเช่น
  • สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) พ.ศ. ๒๓๙๕ – ๒๔๑๕
  • หม่อมเจ้า พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) พ.ศ. ๒๔๑๕ – ๒๔๓๗
  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) พ.ศ. ๒๔๓๗ – ๒๔๗๐
  • พระเทพสิทธินายก (นาค โสภโณ) พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๕๑๔
  • พระเทพญาณเวที (ละมูล สุตาคโม) พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๓๐
  • พระเทพประสิทธิคุณ (ผัน ติสฺสโร) พ.ศ. ๒๕๓๒ –
  • พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) ๒๐ สค. พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน

วัดระฆัง 5

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (หลวงปู่โต) คือ พระเกจิอาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน โดยชาวพุทธส่วนใหญ่ จะรู้จักท่านในฐานะ พระที่มีชื่อเสียงในด้านพระปฏิบัติ จนสำเร็จวิปัสสนา ญาณกรรมฐานขั้นสูง และเป็นผู้ค้นพบ ‘พระคาถาชินบัญชร’ อันเป็นบทสวดมนต์ ที่สามารถป้องกันภัย อันตรายทั้งหลายได้ ๑๐ ทิศ ด้วยบทสวดมนต์ และการปฏิบัติของท่าน รวมทั้งในด้าน การช่วยเหลือต่างๆ ทั้งทางธรรม และพุทธคุณ ทำให้สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (หลวงปู่โต) เป็นพระสงฆ์ ที่ได้รับความเคารพ เลื่อมใส ความศรัทธา รวมไปถึงพระเครื่องของท่าน ก็ได้รับความนิยมจากศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย รวมถึงประชาชนทั่วไป ที่หาเช่าเพื่อบูชา ด้วยความเชื่อว่า พระเครื่องของสมเด็จโต จะช่วยให้ผู้ครอบครอง ประสบพบเจอแต่สิ่งดีๆ และช่วยกันผี คุ้มภัยในการเดินทางด้วย

คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

ตั้งนะโม 3 จบ 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)

พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม

ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

ในบทสวด คาถาชินบัญชรนั้น คำว่า ‘ชินบัญชร’ แปลว่า กรง/เกราะป้องกันภัย ของพระพุทธเจ้า

  • ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า
  • บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ

โดยที่เนื้อหา ในคาถาในชินบัญชร จะเป็นการอัญเชิญ พระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่ พระพุทธเจ้า พระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมา สถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริม ให้ตนเองนั้น มีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่นั่นเอง

การเดินทางไปที่วัดระฆังโฆสิตาราม

การเดินทางมา สักการะพระพุทธรูป เสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สามารถเดินทาง ไปได้หลายทางโ ดยตั้งต้นที่กรุงเทพฯ และเลือกการเดินทางได้ ดังนี้

🚃 เดินทางด้วยรถเมล์ :

  • รถประจำทาง สาย 146 208 และ 57

🚖 เดินทางด้วยรถส่วนตัว

  • จอดรถได้ที่อาคารจอดรถวัดระฆัง (ชั่วโมงแรกฟรี ชั่วโมงต่อไป 20 บาท/ชั่วโมง)
  • A20 Park ลานจอดรถ ใกล้โรงพยาบาลศิริราช

🚃 เดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน

  • สายเฉลิมรัชมงคล MRT BLUE LINE

🚢 เดินทางด้วยเรือด่วน

  • การเดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นที่ท่าเรือ ท่าช้าง, ท่าวัดอรุณแล้วนั่งเรือข้ามฝากมาขึ้นท่าเตียน หรือท่าราชินี

พิกัดที่ตั้ง GPS : N 13° 44′ 47.429 E 100° 29′ 35.144

วัดระฆัง 2
วัดระฆัง 6

5 เหตุผลที่ทำไมต้องมา เสี่ยงเซียมซี ที่วัดระฆังโฆสิตาราม

  1. เดินทางง่าย อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ใกล้กับขนส่งสาธารณะ สายต่างๆ
  2. เป็นวัดดัง ที่มีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังหลายรูป
  3. เป็นวัดสวย ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถเข้ามาทำบุญ พักผ่อน หย่อนใจได้
  4. เป็นวัดของพระสายปฏิบัติ และเป็นพระอารามหลวง ที่ประชาชนทั้งชาวไทย และต่างประเทศ นิยมมากราบไหว้ ขอพร ทั้งด้านโชคลาภ สุขภาพ ความรักและสะเดาะเคราะห์
  5. เป็นวัดในการศึกษา ประวัติศาสตร์ยุครัตนโกสินทร์

การเสี่ยงเซียมซี วัดระฆังโฆสิตาราม (บางกอกน้อย) จ.กรุงเทพฯ

การเสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง มีความเชื่อว่าเป็นการถามอนาคต กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ช่วยทำนายดวง และสิ่งที่คิดอยู่ในใจออกมา ดังนั้น การเสี่ยงทาย เซียมซีทุกครั้ง จะต้องตั้งจิตให้เป็นสมาธิ หลับตาหายใจเข้า-ออกลึก ๆ สัก 1-2 นาที หรือจนรู้สึกว่าจิตใจสงบ

หลังจากนั้น ให้เอ่ยชื่อ-สกุล ของตัวเอง เพื่อบอกกล่าว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ที่ตรงนั้นว่าใครกำลังมาขออะไร เช่น ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว _____ เกิดวันที่ _____ เดือน ____________ พ.ศ. ________ ขอตั้งจิตอธิษฐาน ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ _____(บอกชื่อ ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เคารพนับถือ)_____ ขออาศัยบารมี ของศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลาย ช่วยเปิดดวงชะตา ทำนายเสี่ยงโชคให้ข้าพเจ้า บอกกล่าวเรื่องราว ที่จะเกิดขึ้น ผ่านเซียมซีนี้ด้วยเทอญ

เมื่อกล่าวชื่อ-สกุล และตั้งจิตอธิษฐาน เสร็จแล้ว ให้เขย่าเสี่ยงเซียมซี จนได้หมายเลขออกมา คุณก็จะได้คำทำนาย รวมของเรื่องนั้นๆ ตามที่คุณอธิษฐานออกมานั่นเอง

บทสรุปเกี่ยวกับ เสี่ยงเซียมซีวัดระฆัง

การเดินทาง มาวัดระฆังโฆสิตาราม ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางมาทำบุญ เช่น ไหว้พระ ขอพร ปล่อยนก ปล่อยปลา เสี่ยงเซียมซี วัดระฆัง หรือมาเที่ยวชมสถานที่ชมสถาปัตยกรรม ภายในวัด ก็สามารถเข้ามาได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด หากคุณอยากหาวัดสวยๆ ในกรุงเทพฯ ที่มีบรรยากาศร่มรื่น มีพระเกจิอาจารย์ พระสายปฏิบัติ มีประวัติศาสตร์ของวัด ที่มีมาอย่างยาวนาน และมีจุดทำบุญ จุดเสี่ยงเซียมซี แม่นๆ ภายในวัด ก็สามารถเดินทาง เข้ามาที่วัดระฆัง แห่งนี้ได้ตลอด รับรอง ว่าจะต้องชอบบรรยากาศแ ละกิจกรรมที่วัดนี้ อย่างแน่นอนครับ

กิจกรรม ที่คนนิยมในวัดระฆัง : ถวายปัจจัย​, สวดมนต์ คาถาชินบัญชร​, ชมหอพระไตรปิฎก, นั่งเรือข้ามฟาก ชมบรรยากาศ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา, เสี่ยงเซียมซี, ไหว้พระขอพร กับหลวงพ่อยิ้มรับฟ้า พระประธานใหญ่ ภายในวัด, สักการะบูชา สมเด็จพุทธาจารย์โต เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว, เดินเยี่ยมชม พระอุโบสถ พระปรางค์ และหอระฆัง, เช่าบูชา พระเครื่อง และอื่นๆ อีกมากมาย หรือท่านใดที่อยากสักการะ พระเกจิรูปอื่นๆ เช่น หลวงพ่อโสธร  หลวงพ่อรวย หลวงพ่อโต หรือวัดดดังในไทย ก็สามารถเข้ามาดูข้อมูล วัดอื่นๆ ในเว็บของเราได้ตลอดเวลาเลย วัดดังๆ เลขเด็ดๆ หวยออนไลน์ เสี่ยงเซียมซี ก่อนเริ่มเล่นหวยก็มีที่หวยจั๊บเลยครับ